石兰

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

กว่างโจว

กว่างโจว[1] กวางโจว หรือ กวางเจา[2] (จีนตัวเต็ม: 廣州, จีนตัวย่อ: 广州 Guǎngzhōu หรือ Gwong2 zau1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง กว่างโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และมาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วย
เมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย
กว่างโจวแม้จะเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน แต่กว่างโจวยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในรูปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดินครอบคลุมเมืองชั้นในทั้งหมด รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย
กว่างโจวมีภาพลักษณ์ค่อนข้างแตกต่างจากเมืองทางเหนือ ซึ่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วย "ราชการและเป็นทางการ" แต่ในกว่างโจวจะรู้สึกและรับรู้ได้ถึง "การค้าและความวุ่นวาย"


คลิกชมภาพต่อไป

มณฑลเสฉวน

                                มณฑลซื่อชวน หรือ เสฉวน เป็นภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ช่วงตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง ตอนกลางเป็นที่ราบแอ่งกระทะ คือพื้นที่โดยรอบถูกโอบล้อมด้วยภูเขาสูง 4 ด้าน ตรงกลางเป็นที่ราบ ลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป มีพื้นที่โดยรวมกว่า 485,000 ตร.กม. มีแม่น้ำน้อยใหญ่พาดผ่านมากมาย จึงทำให้เสฉวนเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการทำเกษตร อีกทั้งยังเลื่องชื่อในเรื่องความงดงามทางธรรมชาติอันเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนไม่ขาดสาย ไม่เท่านั้นเสฉวนยังประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองที่น่าสนใจ
ภูมิประเทศมีลักษณะหลากหลายซับซ้อนมาก ด้านตะวันตกเป็นพื้นที่สูง ด้านตะวันออกลาดลงต่ำ ซึ่งจำแนกออกเป็น4 เขตได้แก่

                               เขตพื้นที่ราบต่ำแอ่งกระทะเสฉวน มีพื้นที่กว้างใหญ่ ติดอันดับ 1ใน4 ของพื้นที่แอ่งกระทะใหญ่ของจีน โดยมีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. สูงจากระดับน้ำทะเล 300-700 เมตร โอบล้อมด้วยภูเขาสูง ประกอบด้วยที่ราบต่างๆ โดยมีที่ราบเฉิงตู ซึ่งมีพื้นที่ถึง 6,200 ตร.กม. เป็นส่วนที่ใหญ่สุดในมณฑล
เขตพื้นที่ขอบแอ่งกระทะ โดยมากเป็นพื้นที่ราบสูง และส่วนใหญ่เป็นภูเขาระดับกลางถึงต่ำสูง 1,500 - 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งขอบแอ่งกระทะด้านตะวันตกเฉียงใต้ คือ เขาเอ๋อเหมยซัน(ง๊อไบ) และด้านตะวันตกเฉียงเหนือ คือเขาที่มีชื่อแห่งลัทธิเต๋า เขาชิงเฉิง ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วทั้งคู่ บริเวณนี้มีที่ราบลุ่มไม่มากนัก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเกษตรของเขตนี้
           เขตเทือกเขาตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ทางตอนกลางของเขาเหิงต้วนซันซึ่งอยู่ทางตะวันออกของที่ราบสูงทิเบต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขา โดยเรียงตัวจากใต้ไปเหนือ ส่วนใหญ่มีความสูงราว 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล และที่ราบร่องน้ำอันหนิงซึ่งอยู่ตอนกลางของพื้นที่ จัดว่าเป็นพื้นที่ราบที่ใหญ่เป็นอันดับสองของมณฑล โดยมีพื้นที่ประมาณ 960 ตร.กม.

        เขตที่ราบสูงตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ ส่วนหนึ่งของเขตตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงทิเบตกับเขาเหิงต้วนซัน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 4,000-4,500 เมตร แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ที่ราบสูงด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งจะลาดต่ำลงจากตะวันตกไปทางตะวันออก กับเขตภูเขาด้านตะวันตก ซึ่งพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือจะสูง ด้านตะวันออกเฉียงใต้จะต่ำ ยอดเขาที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของมณฑลเสฉวน และเป็นยอดเขาที่มีชื่อในโลก คือ เขาก้งกา มีความสูง 7,556 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นยอดหลักของเทือกเขาต้าเสวี่ยซันที่อยู่ในบริเวณนี้

ภูมิอากาศ
      มณฑลเสฉวนจัดอยู่ในเขตร้อนแถบเอเซีย เนื่องจากความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และอิทธิพลลมมรสุมพัดผ่านตามฤดูต่างๆ ทำให้สภาพอากาศมีความซับซ้อนมาก มีตั้งแต่ลักษณะอากาศแบบเขตร้อนชื้นไปจนถึงแบบหนาวเย็นตลอดปี ทั้งนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร














วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

มณฑณกว่างสี

              เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
          หรือ กวางสีจ้วง ( จีน: 广西壮族自治区)   คือเขตปกครองตนเองระดับจังหวัด  ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน

เขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศเวียดนาม และทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม

ลักษณะภูมิประเทศ
กว่างซีมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะและเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกันเทือกเขาสำคัญได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซัน
และต้าเหยาซัน เป็นต้น  พื้นที่ 236,700 ตร.กม. (อันดับที่ 9)

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียสมีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคมประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800มิลลิเมตรต่อปี











การออกเสียง
องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน
1. พยางค์
         หน่วยเสียงพื้นฐานของระบบเสียงภาษาจีนกลางปัจจุบันคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบขึ้นจากหน่วยเสียง 3 ส่วน ได้แก่ พยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ โดยทั่วไปแล้ว ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวจะอ่านออกเสียงหนึ่งพยางค์

2. พยัญชนะ
   พยัญชนะคือเสียงนำที่ขึ้นต้นในแต่ละพยางค์ ในภาษาจีนกลางมีพยัญชนะทั้งหมด 23 เสียง ได้แก่

 b  p m  f  d  t  n  l  g  k  h  j  q  x  zh  ch  sh  r  z  c  s  y  w.











3. สระ
          สระหมายถึงเสียงที่ออกตามหลังพยัญชนะในแต่ละพยางค์ สระในภาษาจีนแบ่งออกเป็นเสียงสระล้วนและเสียงที่ประกอบขึ้นจากเสียงสระเป็นหลัก(เนื่องจากระบบเสียงภาษาจีนกลางได้รวมเอาเสียงตัวสะกดไว้กับเสียงสระ สระประเภทนี้จึงหมายถึงเสียงสระที่ประสมรวมกับเสียงสะกด ซึ่งเทียบได้กับเสียงตัวสะกดแม่กน /n/ และแม่กง/ng/ ในภาษาไทย) สระจำนวนหนึ่งสามารถประสมกันกลายเป็นสระประสม และเมื่อเรานำสระมาประสมไว้หลังพยัญชนะก็จะกลายเป็นพยางค์ในระบบสัทอักษรพินอิน ในภาษาจีนกลางมีสระทั้งหมด 36 เสียง ได้แก่

 a  o  e  i  u  ü  ai   ei  ui   ao  ou   iu   ie  üe   an   en   in   un   ün   ang  eng  ing  ong  er   ia  iao   ian  iang  iong   ua   uo   uai   uan  uang  ueng   üan.



การออกเสียงของวรรณยุกต์
              
              เสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ใช้เครื่องหมาย ˉˊˇ และˋแทนตามลำดับ เครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งสี่จะเขียนไว้บนเสียงหลักของสระในแต่ละพยางค์ (เสียงหลักของสระหมายถึงเสียงที่ต้องอ้าปากกว้างและออกเสียงดังที่สุดในบรรดาเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นสระ) เช่น


 qiāng, qiáng, qiǎng, qiàng
  tuī, tuí, tuǐ, 






เมืองเทียนจิน

            เทียนจิน (Tianjin) (ภาษาจีน: 天津; พินอิน: Tiānjīn; พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) คือหนึ่งใน 4 เทศบาลนครของจีน เทศบาลนครเทียนจินมีระดับเทียบเท่ากับมณฑลและปกครองจาก

รัฐบาลกลางโดยตรง พื้นที่ของเทียนจินเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่

เป็นอันดับ 3 ในจีนแผ่นดินใหญ่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของ
ประเทศจีน มีฉายา "เซี่ยงไฮ้ทางเหนือ" เนื่องจากประวัติที่เดิมเคยเป็นเมืองเช่าของตะวันตก การส่งออกอุตสาหกรรมหนัก เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก


เทียนจิน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipality) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร
พื้นที่เมืองของเทียนจินตั้งอยู่ตามแม่น้ำไห่เหอ (Hai He River) ท่าเรือที่อยู่ห่างไกลตั้งอยู่บนอ่าวป๋อไห่ (Bohai Gulf) บนมหาสมุทรแปซิฟิก เทศบาลนครเมียนจินมีพรมแดนติดต่อกับเหอเป่ย ไปทางเหนือ ใต้ และ ตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลนครปักกิ่งในส่วนเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับอ่าวป๋อไห่ไปทางตะวันออก


ไฟล์:TianjinPaifang.jpg




ไฟล์:TianjinDrumTower.jpg













มณฑลซานซี









                              ภาพจากซีอานสุดสวย

มณฑลซานซี (จีน山西省พินอินShānxī shěng ซานซีเสิ่ง) ชื่อย่อ จิ้น (晋) ตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า ซานซี แปลตรงตัวว่าทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หังซัน มีเมืองหลวงชื่อ ไท่หยวนมีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น



กำแพงเมืองจีน


กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม長城จีนตัวย่อ长城พินอินChángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้และ เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หชิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม萬里長城จีนตัวย่อ万里长城พินอินWànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[1]