石兰

วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2554

กว่างโจว

กว่างโจว[1] กวางโจว หรือ กวางเจา[2] (จีนตัวเต็ม: 廣州, จีนตัวย่อ: 广州 Guǎngzhōu หรือ Gwong2 zau1 ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตุ้ง กว่างโจวเป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นมณฑลซึ่งเป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เซินเจิ้น จูไห่ และ ซัวเถา นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และมาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วย
เมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย
กว่างโจวแม้จะเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน แต่กว่างโจวยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในรูปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดินครอบคลุมเมืองชั้นในทั้งหมด รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทย
กว่างโจวมีภาพลักษณ์ค่อนข้างแตกต่างจากเมืองทางเหนือ ซึ่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วย "ราชการและเป็นทางการ" แต่ในกว่างโจวจะรู้สึกและรับรู้ได้ถึง "การค้าและความวุ่นวาย"


คลิกชมภาพต่อไป

มณฑลเสฉวน

                                มณฑลซื่อชวน หรือ เสฉวน เป็นภูมิภาคทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน ช่วงตอนบนของแม่น้ำแยงซีเกียง ตอนกลางเป็นที่ราบแอ่งกระทะ คือพื้นที่โดยรอบถูกโอบล้อมด้วยภูเขาสูง 4 ด้าน ตรงกลางเป็นที่ราบ ลักษณะภูมิอากาศอบอุ่นไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป มีพื้นที่โดยรวมกว่า 485,000 ตร.กม. มีแม่น้ำน้อยใหญ่พาดผ่านมากมาย จึงทำให้เสฉวนเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์และมีภูมิอากาศที่เหมาะสมต่อการทำเกษตร อีกทั้งยังเลื่องชื่อในเรื่องความงดงามทางธรรมชาติอันเป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนไม่ขาดสาย ไม่เท่านั้นเสฉวนยังประกอบด้วยชนกลุ่มน้อยหลายเผ่าที่มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนเองที่น่าสนใจ
ภูมิประเทศมีลักษณะหลากหลายซับซ้อนมาก ด้านตะวันตกเป็นพื้นที่สูง ด้านตะวันออกลาดลงต่ำ ซึ่งจำแนกออกเป็น4 เขตได้แก่

                               เขตพื้นที่ราบต่ำแอ่งกระทะเสฉวน มีพื้นที่กว้างใหญ่ ติดอันดับ 1ใน4 ของพื้นที่แอ่งกระทะใหญ่ของจีน โดยมีพื้นที่ถึง 170,000 ตร.กม. สูงจากระดับน้ำทะเล 300-700 เมตร โอบล้อมด้วยภูเขาสูง ประกอบด้วยที่ราบต่างๆ โดยมีที่ราบเฉิงตู ซึ่งมีพื้นที่ถึง 6,200 ตร.กม. เป็นส่วนที่ใหญ่สุดในมณฑล
เขตพื้นที่ขอบแอ่งกระทะ โดยมากเป็นพื้นที่ราบสูง และส่วนใหญ่เป็นภูเขาระดับกลางถึงต่ำสูง 1,500 - 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งขอบแอ่งกระทะด้านตะวันตกเฉียงใต้ คือ เขาเอ๋อเหมยซัน(ง๊อไบ) และด้านตะวันตกเฉียงเหนือ คือเขาที่มีชื่อแห่งลัทธิเต๋า เขาชิงเฉิง ซึ่งถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้วทั้งคู่ บริเวณนี้มีที่ราบลุ่มไม่มากนัก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเกษตรของเขตนี้
           เขตเทือกเขาตะวันตกเฉียงใต้ อยู่ทางตอนกลางของเขาเหิงต้วนซันซึ่งอยู่ทางตะวันออกของที่ราบสูงทิเบต พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาและหุบเขา โดยเรียงตัวจากใต้ไปเหนือ ส่วนใหญ่มีความสูงราว 3,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล และที่ราบร่องน้ำอันหนิงซึ่งอยู่ตอนกลางของพื้นที่ จัดว่าเป็นพื้นที่ราบที่ใหญ่เป็นอันดับสองของมณฑล โดยมีพื้นที่ประมาณ 960 ตร.กม.

        เขตที่ราบสูงตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ ส่วนหนึ่งของเขตตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงทิเบตกับเขาเหิงต้วนซัน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 4,000-4,500 เมตร แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ที่ราบสูงด้านตะวันตกเฉียงเหนือ ซึ่งจะลาดต่ำลงจากตะวันตกไปทางตะวันออก กับเขตภูเขาด้านตะวันตก ซึ่งพื้นที่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือจะสูง ด้านตะวันออกเฉียงใต้จะต่ำ ยอดเขาที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของมณฑลเสฉวน และเป็นยอดเขาที่มีชื่อในโลก คือ เขาก้งกา มีความสูง 7,556 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นยอดหลักของเทือกเขาต้าเสวี่ยซันที่อยู่ในบริเวณนี้

ภูมิอากาศ
      มณฑลเสฉวนจัดอยู่ในเขตร้อนแถบเอเซีย เนื่องจากความหลากหลายทางภูมิศาสตร์และอิทธิพลลมมรสุมพัดผ่านตามฤดูต่างๆ ทำให้สภาพอากาศมีความซับซ้อนมาก มีตั้งแต่ลักษณะอากาศแบบเขตร้อนชื้นไปจนถึงแบบหนาวเย็นตลอดปี ทั้งนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร














วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

มณฑณกว่างสี

              เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง
          หรือ กวางสีจ้วง ( จีน: 广西壮族自治区)   คือเขตปกครองตนเองระดับจังหวัด  ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของประเทศจีน

เขตปกครองตนเองกวางซีจ้วงมีพื้นที่ติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ มณฑลกุ้ยโจว และมณฑลหูหนาน ประเทศจีน
ทิศใต้ ติดต่อกับ ประเทศเวียดนาม และทะเลจีนใต้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน และประเทศเวียดนาม

ลักษณะภูมิประเทศ
กว่างซีมีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบแอ่งกระทะและเทือกเขาขนาดเล็กที่ยาวคดเคี้ยวติดต่อกันเทือกเขาสำคัญได้แก่ ภูเขาต้าหมิงซัน
และต้าเหยาซัน เป็นต้น  พื้นที่ 236,700 ตร.กม. (อันดับที่ 9)

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศแบบเขตร้อน โดยทางเหนือเป็นเขตร้อนแถบเอเชียกลาง ทางใต้เป็นเขตร้อนแถบเอเชียใต้ อุณหภูมิเฉลี่ย 16-23 องศาเซลเซียสมีฝนตกชุก ฤดูร้อนยาวนานกว่าฤดูหนาว อุณหภูมิสูงสุดในเดือนกรกฎาคมประมาณ 27-29 องศาเซลเซียส และต่ำสุดในเดือนมกราคมประมาณ 5.5-15.2 องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,000-2,800มิลลิเมตรต่อปี











การออกเสียง
องค์ประกอบของสัทอักษรพินอิน
1. พยางค์
         หน่วยเสียงพื้นฐานของระบบเสียงภาษาจีนกลางปัจจุบันคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบขึ้นจากหน่วยเสียง 3 ส่วน ได้แก่ พยัญชนะ สระและวรรณยุกต์ โดยทั่วไปแล้ว ตัวอักษรจีนหนึ่งตัวจะอ่านออกเสียงหนึ่งพยางค์

2. พยัญชนะ
   พยัญชนะคือเสียงนำที่ขึ้นต้นในแต่ละพยางค์ ในภาษาจีนกลางมีพยัญชนะทั้งหมด 23 เสียง ได้แก่

 b  p m  f  d  t  n  l  g  k  h  j  q  x  zh  ch  sh  r  z  c  s  y  w.











3. สระ
          สระหมายถึงเสียงที่ออกตามหลังพยัญชนะในแต่ละพยางค์ สระในภาษาจีนแบ่งออกเป็นเสียงสระล้วนและเสียงที่ประกอบขึ้นจากเสียงสระเป็นหลัก(เนื่องจากระบบเสียงภาษาจีนกลางได้รวมเอาเสียงตัวสะกดไว้กับเสียงสระ สระประเภทนี้จึงหมายถึงเสียงสระที่ประสมรวมกับเสียงสะกด ซึ่งเทียบได้กับเสียงตัวสะกดแม่กน /n/ และแม่กง/ng/ ในภาษาไทย) สระจำนวนหนึ่งสามารถประสมกันกลายเป็นสระประสม และเมื่อเรานำสระมาประสมไว้หลังพยัญชนะก็จะกลายเป็นพยางค์ในระบบสัทอักษรพินอิน ในภาษาจีนกลางมีสระทั้งหมด 36 เสียง ได้แก่

 a  o  e  i  u  ü  ai   ei  ui   ao  ou   iu   ie  üe   an   en   in   un   ün   ang  eng  ing  ong  er   ia  iao   ian  iang  iong   ua   uo   uai   uan  uang  ueng   üan.



การออกเสียงของวรรณยุกต์
              
              เสียงวรรณยุกต์ทั้งสี่ใช้เครื่องหมาย ˉˊˇ และˋแทนตามลำดับ เครื่องหมายวรรณยุกต์ทั้งสี่จะเขียนไว้บนเสียงหลักของสระในแต่ละพยางค์ (เสียงหลักของสระหมายถึงเสียงที่ต้องอ้าปากกว้างและออกเสียงดังที่สุดในบรรดาเสียงที่ประกอบขึ้นเป็นสระ) เช่น


 qiāng, qiáng, qiǎng, qiàng
  tuī, tuí, tuǐ, 






เมืองเทียนจิน

            เทียนจิน (Tianjin) (ภาษาจีน: 天津; พินอิน: Tiānjīn; พินอินระบบไปรษณีย์: Tientsin) คือหนึ่งใน 4 เทศบาลนครของจีน เทศบาลนครเทียนจินมีระดับเทียบเท่ากับมณฑลและปกครองจาก

รัฐบาลกลางโดยตรง พื้นที่ของเทียนจินเป็นเมืองที่มีพื้นที่ใหญ่

เป็นอันดับ 3 ในจีนแผ่นดินใหญ่ จัดเป็นเมืองใหญ่อันดับ 3 ของ
ประเทศจีน มีฉายา "เซี่ยงไฮ้ทางเหนือ" เนื่องจากประวัติที่เดิมเคยเป็นเมืองเช่าของตะวันตก การส่งออกอุตสาหกรรมหนัก เป็นเมืองท่าขนาดใหญ่และมีสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก


เทียนจิน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปักกิ่ง ด้านตะวันออกติดกับอ่าวป๋อไห่ (Bohai Bay) มีสถานภาพเป็น "เทศบาลเมือง" (Special Municipality) ซึ่งการปกครองขึ้นตรงต่อรัฐบาลกลาง ห่างจากเมืองปักกิ่งซึ่งเป็นเมืองหลวง ประมาณ 120 กิโลเมตร
พื้นที่เมืองของเทียนจินตั้งอยู่ตามแม่น้ำไห่เหอ (Hai He River) ท่าเรือที่อยู่ห่างไกลตั้งอยู่บนอ่าวป๋อไห่ (Bohai Gulf) บนมหาสมุทรแปซิฟิก เทศบาลนครเมียนจินมีพรมแดนติดต่อกับเหอเป่ย ไปทางเหนือ ใต้ และ ตะวันตก ติดต่อกับเทศบาลนครปักกิ่งในส่วนเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงเหนือ และติดต่อกับอ่าวป๋อไห่ไปทางตะวันออก


ไฟล์:TianjinPaifang.jpg




ไฟล์:TianjinDrumTower.jpg













มณฑลซานซี









                              ภาพจากซีอานสุดสวย

มณฑลซานซี (จีน山西省พินอินShānxī shěng ซานซีเสิ่ง) ชื่อย่อ จิ้น (晋) ตั้งอยู่บริเวณตอนกลาง ของแม่น้ำเหลือง (หวงเหอ) ในภาคเหนือของประเทศจีน คำว่า ซานซี แปลตรงตัวว่าทิศตะวันตกของภูเขา เนื่องจากมณฑลตั้งอยู่ทางตะวันตกของภูเขาไท่หังซัน มีเมืองหลวงชื่อ ไท่หยวนมีเนื้อที่ 156,800 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 33,350,000 คน ความหนาแน่น 213 ต่อตารางกิโลเมตร จีดีพี 304.2 พันล้านเหรินหมินปี้ จีดีพีต่อประชากร 9120 เหรินหมินปี้ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวฮั่น



กำแพงเมืองจีน


กำแพงเมืองจีน (จีนตัวเต็ม長城จีนตัวย่อ长城พินอินChángchéng ฉางเฉิง) เป็นกำแพงที่มีป้อมคั่นเป็นช่วง ๆ ของจีนสมัยโบราณ สร้างในสมัย พระเจ้าจิ๋นซีฮ่องเต้และ เป็นครั้งแรก กำแพงส่วนใหญ่ที่ปรากฏในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หชิง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการรุกรานจากพวกมองโกล และพวกเติร์ก หลังจากนั้นยังมีการสร้างกำแพงต่ออีกหลายครั้งด้วยกัน แต่ภายหลังก็มีเผ่าเร่ร่อนจากมองโกเลียและแมนจูเรียสามารถบุกฝ่ากำแพงเมืองจีนได้สำเร็จ
กำแพงเมืองจีนยังคงเรียกว่า กำแพงหมื่นลี้ (จีนตัวเต็ม萬里長城จีนตัวย่อ万里长城พินอินWànlĭ Chángchéng ว่านหลี่ฉางเฉิง) กำแพงเมืองจีนมีความยาวทั้งหมดถึง 6,350 กิโลเมตร และนับเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลางด้วย มีความเชื่อกันว่า หากมองเมืองจีนจากอวกาศจะสามารถเห็นกำแพงเมืองจีนได้ ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถมองเห็นจากอวกาศได้[1]


การใช้ตะเกียบจีน

ตามที่เล่ากันมา วิธีการรับประทานอาหารในโลกนี้ มีอยู่ ๓  แบบ  คือ รับประทานอาหารด้วยมือโดยตรง  คนที่ใช้วิธีนี้มีอยู่ประมาณ ร้อยละ ๔๐   คนที่ใช้มีดและส้อมมีประมาณ ร้อยละ ๓๐  คนที่ใช้ตะเกียบมีประมาณ ร้อยละ ๓๐
   ตะเกียบเป็นสิ่งประดิษฐ์สำคัญของชาวจีน   ชาวจีนเริ่มใช้ตะเกียบตั้งแต่สมัย อิงซัน คือ ประมาณ ๓๐๐๐ ปีที่แล้ว   แต่ตอนแรก ๆ ไม่ได้เรียกว่า คว่ายอย่างที่คนปัจจุบันเรียกกัน  ตามบันทึกทางประวัติศาสตร์   คนสมัยโน้นเรียกตะเกียบว่า จู้ หรือ เจีย   ในศตวรรษที่ ๗ ถึง ๘  เรียกตะเกียบว่า  จิน   เมื่อเป็นเช่นนี้ คำว่า คว่ายที่ใช้กันทุกวันนี้มาจากไหน ตามบันทึกในเอกสารประวัติศาสตร์   ชาว เจียงหนาน ทางภาคตะวันออกของจีนเห็นว่า  ภาษาจีน  คำว่า จู้ ที่ใช้เรียก ตะเกียบ กับ คำว่า จู้ที่แปลว่า หยุด ออกเสียงเหมือนกัน   แต่เผอิญคนเดินเรือทางภาคใต้ถือคำว่า หยุด   จึงไม่เรียกตะเกียบเป็น จู้ แต่เรียกใหม่เป็น คว่าย ซึ่ง หมายถึง เร็ว  พอถึงศตวรรษที่ ๑๐ สมัยราชวงศ์ซ่ง    ชาวบ้านได้ใส่สัญลักษณ์ไม้ไผ่บนคำว่า คว่าย จึงกลายเป็นคำที่ใช้เรียกตะเกียบในปัจจุบันพ แต่ยังคงอ่านเป็นคว่าย  เพราะว่า ตะเกียบทำจากไม้ไผ่   ตั้งแต่นั้นมา จึงเรียกตะเกียบซึ่งเป็นเครื่องใช้ในการรับประทานอาหารที่ชาวจีน ประดิษฐ์ขึ้นว่า คว่ายมาจนถึงปัจจุบัน
 แล้วตะเกียบประดิษฐ์คิดขึ้นมาได้อย่างไรเล่า  มีคนคาดเดาว่า     คนโบราณใช้กิ่งไม้ สองอันคีบอาหารย่างไฟ  และคีบของกิน   ทำแบบนี้ จะไม่ร้อนมือ  อีกทั้งสามารถชิมของกินได้ในขณะ ยังร้อน และมีรสชาติอร่อย   นานเข้า กิ่งไม้ก็พัฒนาเป็นตะเกียบ   โครงสร้างของตะเกียบง่ายมาก  รูปร่าง ลักษณะ  ตะเกียบประกอบด้วยก้านไม้ขนาดเล็ก  สองอัน  ตะเกียบของเมืองจีน ข้างบนใหญ่กว่าข้างล่าง และทำเป็นรูป ๔ เหลี่ยมสำหรับท่อนบน ข้อดีของรูปร่างลักษณะเช่นนี้คือ  สะดวกในการจับตะเกียบ  ไม่หลุดง่าย  นอกจากนี้ เวลาวางบนโต๊ะก็ไม่กลิ้งตกง่าย ส่วนปลายข้างล่างของตะเกียบทำเป็นท่อนกลมช่วยให้ไม่บาดปากใน ขณะรับประทาน  หลังจากตะเกียบแพร่หลายไปถึงญี่ปุ่น  ชาวญี่ปุ่น ได้ผลิตตะเกียบรูปทรงกรวยทั้งอัน เพราะว่า ชาวญี่ปุ่นส่วนมากชอบกินอาหารดิบและแช่เย็น  เช่น ปลาดิบเป็นต้น การใช้ตะเกียบลักษณะนี้จะสะดวกมากกว่า
ถึงแม้ว่าตะเกียบจะมีโครงสร้างที่ง่ายมาก   แต่ชาวจีนก็มีวิธีการผลิต ตะเกียบ  โดยใช้วัสดุชนิดต่าง ๆ และแกะสลักลวดลายสวยงามบนตะเกียบ   เมื่อกว่า ๒ พันปีที่แล้ว  ก็มีตะเกียบทำด้วยงาช้างและทองแดง ตั้งแต่ ศตวรรษที่ ๖ ถึง ๘ เป็นต้นมา  ราชสำนัก  ครอบครัวขุนนางและคนรวยต่างใช้ตะเกียบที่ทำด้วยทองคำและเงิน  หรือตะเกียบที่ทำจากหยกและประการังที่มีการแกะสลัก   ตะเกียบที่พิถีพิถันยังมีการเลี่ยมเงินตรงปลายบนของตะเกียบ  ตะเกียบแบบนี้ใช้สำหรับทดสอบอาหารว่ามีพิษหรือไม่  ถ้าอาหารมีสารพิษ เงินที่เลี่ยมตรงปลายตะเกียบก็จะเปลี่ยนเป็นสีดำหรือสีเขียวทันที
   ตะเกียบมีบทบาทสำคัญมากในขนบประเพณีของชาวจีน   เจ้าสาว ในบางท้องถิ่นถ้าออกเรือน  สินเดิมของหญิงต้องมีชามและตะเกียบ สองชุดที่เตรียมไว้สำหรับเจ้าบ่าวและเจ้าสาว อีกทั้งใช้เชือกแดงผูกเข้าไว้ด้วยกัน ตั้งชื่อให้ว่า  ชามลูกหลาน   ทั้งนี้ไม่เพียงแต่แสดงว่า   จากนี้ไป สามีภรรยาที่เพิ่งแต่งงานจะใช้ชีวิตร่วมกัน  หากยังมีความหมายว่า   ขอให้มีลูกโดยเร็ว เพราะในภาษาจีน คำว่า ตะเกียบ ออกเสียงเป็น คว่าย มีความหมายว่า เร็ว   ในชนบททางภาคเหนือของจีนยังมีขนบธรรมเนียมดังนี้   ในคืนที่ฉลองงานสมรสในห้องนอนของคู่บ่าวคู่สาว   ญาติพี่น้องจะโยน ตะเกียบจากนอกหน้าต่างเข้าไปในห้องนอนคู่บ่าวสาว การกระทำเช่นนี้มีความหมาย  เป็นสิริมงคล ให้สมความปรารถนา และมีลูกโดยเร็ว   แม้ว่าตะเกียบประกอบด้วยก้านไม้เล็ก ๆ สองชิ้นเท่านั้น แต่จะใช้ตะเกียบให้คล่องไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย 
   เทคนิคในการใช้ตะเกียบของชาวจีนเป็นสิ่งที่ชาวต่างชาติสนใจมาก  ในประเทศตะวันตก ยังมีศูนย์ฝึกอบรมการใช้ตะเกียบโดยเฉพาะ   ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์บางคนเห็นว่า   การใช้ตะเกียบจะต้องเคลื่อนข้อต่อ ๓๐ กว่าจุดและ กล้ามเนื้อ ๕๐ กว่ามัด ซึ่งจะช่วยให้นิ้วมือมีความคล่องแคล่วยิ่งขึ้นและมีความเฉียบไวในการ ใช้สมองยิ่งขึ้น   จีนเป็นบ้านเกิดของตะเกียบ แต่ตามข่าวของสื่อมวลชน พิพิธภัณฑ์ตะเกียบแห่งแรกในโลกอยู่ที่เยอรมัน พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้จัดแสดงตะเกียบที่ทำจากทองคำ เงิน หยกและกระดูกสัตว์รวม ๑ หมื่นคู่   ตะเกียบเหล่านี้นำมาจากประเทศและเขตแคว้นต่าง ๆ ทั่วโลก  และเป็นตะเกียบที่ผลิตในยุคสมัยต่าง ๆ ในประวัติศาสตร์  มีความหลากหลายมากทีเดียว



ชาจีน

                วันนี้ขอเล่าเรื่องประวัติกำเนิดชาจีน เพราะชาเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์สี่อย่างของจีน และวัฒนธรรมการดื่มชายังเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของจีนด้วย
ย้อนไปถึงปี 2737ก่อนคริสต์กาล ก็กว่า 4700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยของจักรพรรดิเสิน วันหนึ่งจักรพรรดิเสินเสด็จล่าสัตว์ ขณะทรงพักผ่อนใต้ร่มไม้ และทรงต้มน้ำดื่มหน้ากองไฟ มีกระแสลมพัด พาเอาใบไม้หล่นลงในหม้อน้ำที่กำลังต้ม เมื่อจักรพรรดิทรงชิมน้ำที่ต้ม พบว่ามีรสชาติดีและมีกลิ่นหอมจากใบไม้ชนิดนั้นคือใบชา และจากนั้นมา ชาก็กำเนิดขึ้นเป็นที่รู้จักและนิยมดื่มกันไปทั่วโลกตราบจนถึงปัจจุบัน
การหยิบชา การจัดเตรียม และพิธีกรรมการดื่มชากลายเป็นปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศจีนจนสืบทอดไป ถึง เกาหลี และญี่ปุ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีการดื่มชาของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป และเมื่อราวศตวรรษที่ 5 ชาเป็นที่ยอมรับว่า สามารถใช้รักษาโรคบางชนิดได้
ใบชานั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinesis ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นดอกชาสีดำ เรื่องราวของชาในการรักษาโรคนั้น จะช่วยระบบย่อยอาหาร และระบบประสาท และด้วยกลิ่นและรสชาติของชา ทำให้มีการปลูกชากันทั่วโลก และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
                      ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ก็มีตำราชาจีนออกมาแล้วชื่อ "ฉาจิง" ลู่หยูเป็นผู้แต่ง มีเรื่องเล่าว่า
ยุคราชวงศ์ถัง นับว่าเป็นช่วงที่ประเทศจีน พัฒนามากในการผลิตใบชา การดื่มชาเป็นที่แพร่หลาย ชาเข้าไปในวิถีชีวิตครอบครัวของชาวจีนทั่วไป กลายเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในชีวิต ประจำวัน ในช่วงเวลานี้เองในประวัติศาสตร์จีนได้มีการบันทึกถึง หนังสือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับใบชาชื่อว่า "ฉาจิง" "ฉาจิง"นับเป็นหนังสือเล่มแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาการผลิตชาจีน หนังสือเล่มนี้รวบรวมประเภทของชา การผลิตชาการดื่มชา ประสบการณ์การวิจารณ์ชาไว้เป็นระบบ ผู้เขียนชื่อ "ลู่หยู" เป็นปัญญาชนที่ไม่ชอบรับราชการ เขาถูกคนรุ่นหลังยกย่องให้เป็นปราชญ์ทางชา
กล่าวกันว่า ลู่หยู เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และพระจีน ชื่อ"จื่อจี" เลี้ยงดูจนเติบโตและพระจีนตั้งชื่อให้ ท่านจื่อจีชอบดื่มชา คนที่นิยมดื่มชามักจะชงชาเอง ลู่หยูตั้งแต่เด็กก็เรียนรู้จากพระจีนชราจนมีฝีมือชงชา ยิ่งกว่านั้นยังสะสมประสบการณ์การดื่มชา ภายหลังชาที่ลู่หยูชงจัดว่ามีรสชาติพิเศษ ท่านจื่อจีนั้นหากไม่ใช่ชาที่ลู่หยูชงจะไม่ดื่ม มีอยู่ช่วงหนึ่ง ลู่หยูมีธุระไปข้างนอก ท่านจื่อจีไม่ดื่มชาเลย ภายหลังจักรพรรดิทรงทราบเรื่องนี้ก็ไม่ทรงเชื่อ โปรดให้นำท่านจื่อจีเข้าวังหลวง สั่งให้นักชงชาที่ดีในราชสำนักชงชาให้ท่านดื่ม แต่พอพระจีนชราจิบชาไป 1 อึก ไม่ชอบก็วางลงไม่ดื่มอีกเลย จักรพรรดิ์จึงรับสั่งเป็นการลับให้ลู่หยูเข้าวัง และให้เขาชงชา แล้วเชิญให้ท่านจื่อจีดื่ม พอดื่มชา ท่านก็กล่าวอย่างดีใจว่า "ชานี้เหมือนชาที่ลู่หยูชงเองเลย" จากนั้นเป็นต้นมา ชื่อเสียงของลู่หยูก็เป็นที่รู้จักกันทั่วแผ่นดิน

                                                               











ชาจีน

                วันนี้ขอเล่าเรื่องประวัติกำเนิดชาจีน เพราะชาเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์สี่อย่างของจีน และวัฒนธรรมการดื่มชายังเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของจีนด้วย
ย้อนไปถึงปี 2737ก่อนคริสต์กาล ก็กว่า 4700 ปีมาแล้ว ในรัชสมัยของจักรพรรดิเสิน วันหนึ่งจักรพรรดิเสินเสด็จล่าสัตว์ ขณะทรงพักผ่อนใต้ร่มไม้ และทรงต้มน้ำดื่มหน้ากองไฟ มีกระแสลมพัด พาเอาใบไม้หล่นลงในหม้อน้ำที่กำลังต้ม เมื่อจักรพรรดิทรงชิมน้ำที่ต้ม พบว่ามีรสชาติดีและมีกลิ่นหอมจากใบไม้ชนิดนั้นคือใบชา และจากนั้นมา ชาก็กำเนิดขึ้นเป็นที่รู้จักและนิยมดื่มกันไปทั่วโลกตราบจนถึงปัจจุบัน
การหยิบชา การจัดเตรียม และพิธีกรรมการดื่มชากลายเป็นปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมในประเทศจีนจนสืบทอดไป ถึง เกาหลี และญี่ปุ่น ขนบธรรมเนียมประเพณีการดื่มชาของแต่ละประเทศก็แตกต่างกันไป และเมื่อราวศตวรรษที่ 5 ชาเป็นที่ยอมรับว่า สามารถใช้รักษาโรคบางชนิดได้
ใบชานั้นมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinesis ซึ่งรู้จักกันว่าเป็นดอกชาสีดำ เรื่องราวของชาในการรักษาโรคนั้น จะช่วยระบบย่อยอาหาร และระบบประสาท และด้วยกลิ่นและรสชาติของชา ทำให้มีการปลูกชากันทั่วโลก และเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย
                      ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง ก็มีตำราชาจีนออกมาแล้วชื่อ "ฉาจิง" ลู่หยูเป็นผู้แต่ง มีเรื่องเล่าว่า
ยุคราชวงศ์ถัง นับว่าเป็นช่วงที่ประเทศจีน พัฒนามากในการผลิตใบชา การดื่มชาเป็นที่แพร่หลาย ชาเข้าไปในวิถีชีวิตครอบครัวของชาวจีนทั่วไป กลายเป็นสิ่งที่จะขาดไม่ได้ในชีวิต ประจำวัน ในช่วงเวลานี้เองในประวัติศาสตร์จีนได้มีการบันทึกถึง หนังสือที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับใบชาชื่อว่า "ฉาจิง" "ฉาจิง"นับเป็นหนังสือเล่มแรกของโลกที่บันทึกเกี่ยวกับการศึกษาการผลิตชาจีน หนังสือเล่มนี้รวบรวมประเภทของชา การผลิตชาการดื่มชา ประสบการณ์การวิจารณ์ชาไว้เป็นระบบ ผู้เขียนชื่อ "ลู่หยู" เป็นปัญญาชนที่ไม่ชอบรับราชการ เขาถูกคนรุ่นหลังยกย่องให้เป็นปราชญ์ทางชา
กล่าวกันว่า ลู่หยู เป็นเด็กที่ถูกทอดทิ้ง และพระจีน ชื่อ"จื่อจี" เลี้ยงดูจนเติบโตและพระจีนตั้งชื่อให้ ท่านจื่อจีชอบดื่มชา คนที่นิยมดื่มชามักจะชงชาเอง ลู่หยูตั้งแต่เด็กก็เรียนรู้จากพระจีนชราจนมีฝีมือชงชา ยิ่งกว่านั้นยังสะสมประสบการณ์การดื่มชา ภายหลังชาที่ลู่หยูชงจัดว่ามีรสชาติพิเศษ ท่านจื่อจีนั้นหากไม่ใช่ชาที่ลู่หยูชงจะไม่ดื่ม มีอยู่ช่วงหนึ่ง ลู่หยูมีธุระไปข้างนอก ท่านจื่อจีไม่ดื่มชาเลย ภายหลังจักรพรรดิทรงทราบเรื่องนี้ก็ไม่ทรงเชื่อ โปรดให้นำท่านจื่อจีเข้าวังหลวง สั่งให้นักชงชาที่ดีในราชสำนักชงชาให้ท่านดื่ม แต่พอพระจีนชราจิบชาไป 1 อึก ไม่ชอบก็วางลงไม่ดื่มอีกเลย จักรพรรดิ์จึงรับสั่งเป็นการลับให้ลู่หยูเข้าวัง และให้เขาชงชา แล้วเชิญให้ท่านจื่อจีดื่ม พอดื่มชา ท่านก็กล่าวอย่างดีใจว่า "ชานี้เหมือนชาที่ลู่หยูชงเองเลย" จากนั้นเป็นต้นมา ชื่อเสียงของลู่หยูก็เป็นที่รู้จักกันทั่วแผ่นดิน

                                                                 











กุ้ยหลิน


กุ้ยหลิน (จีน桂林อังกฤษGuilin) เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาว“จ้วง” ซึ่งถือเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีจำนวนมากที่สุดของชนกลุ่มน้อยทั้งหมด ชื่อกุ้ยหลินมาจากที่อดีตดินแดนนี้มีป่า(หลิน)ต้น “กุ้ยฮวา” เยอะ (ต้นกุ้ยฮวา ในภาษาจีน แปลเป็นไทยคือ ต้นขี้เหล็ก) คนกุ้ยหลินได้นำดอกของต้นกุ้ยฮวยมาตากแห้งอบพร้อมใบชา กลายเป็น “ชากุ้ยหลิน”
กุ้ยหลินถือเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นสถานที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศจีน คนจีนยกให้เป็นดัง “เมืองสวรรค์บนพิภพ”หรือ“ซื่อไหว้เถาหยวน”[ต้องการอ้างอิง] มีคำกล่าวว่าจิตรกรใดที่ยังไม่เคยมาเมืองกุ้ยหลิน จะไม่สามารถวาดรูปขุนเขาให้สวยงามได้เลย

                                           

รำมวยไทเก๊ก

           ไท้เก๊ก เป็นศิลปะที่มีรากฐานมาจากเมืองจีน ที่เน้นเรื่องการเคลื่อนไหวเกือบทุกส่วนของร่างกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตลอดเวลา มีความช้าอยู่ในตัว รำโดยไม่ต้องเกร็งกล้ามเนื้อปล่อยให้เป็นตามธรรมชาติ การหายใจก็เป็นไปตามปกติ มีลักษณะของความต่อเนื่องจากท่าแรกจนท่าสุดท้าย เป็นลักษณะของการนำเอาพลังของร่างกายและจิตใจมาผสานกัน เนื่องจากผู้ที่ฝึกจะต้องมีสมาธิในการรำ มีการกำหนดสายตาตามท่าทางตลอดตั้งแต่ต้นจนจบการฝึก

บรมครูของไท๊เก็กคือ เตียซำฮง นักบุญในลัทธิเต๋า ได้แสวงหาสัจจธรรมโดยบำเพ็ญพรตอยู่กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และค้นพบหลักการอ่อนตามกัน ซึ่งเป็นหลักสำคัญของไท๊เก็ก ส่วนการคิดท่ารำนั้น ได้อาศัยหลักการต่อสู้ของงูที่ต่อสู้กับดุเหว่า ซึ่งเน้นถึงการเคลื่อนไหวร่างกายที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ

ไท๊เก็ก จะมีท่ารำอยู่ 128 ท่า ใช้เวลาในการรำประมาณ 15 นาที ขึ้นอยู่กับผู้ฝึกจะรำช้าหรือเร็วเพียงใด และฝึกได้ทุกเพศทุกวัย

สำหรับประโยชน์ของไท๊เก็ก

ผู้ฝึกจะได้คือเป็นเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกายส่วนต่างๆ ข้อต่อไม่ติดขัด การทำงานของระบบหัวใจและการหายใจดีขึ้น ซึ่งรวมกันแล้วก็คือสุขภาพกายสมบูรณ์ดียิ่งขึ้น ส่วนสุขภาพจิตก็ได้ในแง่ของการฝึกให้มีสมาธิที่ใช้ในการรำต่อเนื่องกันตลอดเวลา

รำมวยจีน (ไท้เก๊ก)                                                                 

กีฬาโอลิมปิก


มหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 ประจำปี ค.ศ. 2008 (พ.ศ. 2551) (จีน2008年 夏季奥林匹克运动会, เอ้อร์หลิงหลิงปาเหนียน เซี่ยจี้อ้าวหลินผี่เค่อยวื่นต้งฮุ่ยอังกฤษGames of the XXIX Olympiad) เป็นการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 29 จัดขึ้น ณ กรุงปักกิ่ง ฮ่องกง ชิงเต่า ชิงหวงเต่า เซี่ยงไฮ้ และเสิ่นหยาง สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม (การแข่งขันฟุตบอลจัดขึ้นในวันที่ 6 สิงหาคม) ถึง 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ตามมาด้วยพาราลิมปิกฤดูร้อน 2008 ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน ถึงวันที่ 17 กันยายน การแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ถือเป็นการแข่งขันครั้งที่สามที่มีเจ้าภาพอยู่ในทวีปเอเชีย (ครั้งที่หนึ่ง ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในปี พ.ศ. 2507 และครั้งที่สอง ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ พ.ศ. 2531) โดยพิธีเปิดได้เริ่มขึ้นในเวลา 20 นาฬิกา (8 นาฬิกาตอนกลางคืน) 8 นาทีตามเวลากรุงปักกิ่ง (19 นาฬิกา 8 นาที ตามเวลาแห่งประเทศไทย) โดยเลข 8 นี้เป็นเลขนำโชคของชาวจีนซึ่งเชื่อกันว่าเลข 8 เป็นเลขมงคลมากที่สุด เพราะออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฟา (發/发) ที่หมายถึงร่ำรวย
นายหวัง ฉีซัน นายกเทศมนตรีนครปักกิ่งกล่าวเสริมว่า หากพิธีเปิดงานสามารถดำเนินไปได้ด้วยดี ก็ถือว่าการจัดงานกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้สำเร็จไปกว่าครึ่งแล้ว โดยทางจีนมีความพร้อมอย่างเต็มที่ในการจัดการแข่งขันครั้งนี้ เพื่อแสดงศักยภาพของตนให้ปรากฏแก่ชาวโลก ซึ่งอาจเรียกกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้ว่าเป็น "อภิมหาโอลิมปิก"[2]เลยก็ว่าได้
กีฬาโอลิมปิก 2008 เริ่มตั้งแต่วันที่ 8 จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม ซึ่งคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 3 ล้านคน รวมถึงนักกีฬาประมาณ 20,000 คนและผู้สื่อข่าวอีกราว 30,000 ชีวิตเดินทางมาร่วมงานนี้


เซี่ยงไฮ้

                       


ซ่างไห่ หรือ เซี่ยงไฮ้ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ตามมาด้วยสิงคโปร์ และร็อตเตอร์ดัม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้ จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ คือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้

เซี่ยงไฮ้

                       


ซ่างไห่ หรือ เซี่ยงไฮ้ (จีน: 上海, พินอิน: Shànghǎi) เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำแยงซีเกียง เป็นเขตการปกครองระดับเขตการปกครองพิเศษแบบเทศบาลนคร ซึ่งมีสถานะเทียบเท่ากับมณฑล พื้นที่อยู่ในมณฑลเจ้อเจียงแต่ไม่ได้ขึ้นกับมณฑล การปกครองขึ้นตรงกับรัฐบาลกลาง มีท่าเรือที่มีจำนวนเรือคับคั่งที่สุดในโลก[ต้องการอ้างอิง] ตามมาด้วยสิงคโปร์ และร็อตเตอร์ดัม เซี่ยงไฮ้ในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง แต่ในปัจจุบันเซี่ยงไฮ้กลายเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นมากที่สุดในจีน เต็มไปด้วยร้านค้า สิ่งก่อสร้าง ถนนเต็มไปด้วยรถ จักรยาน และผู้คน สิ่งที่พบเห็นได้มากในเมืองนี้ จนอาจถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองนี้ คือต้นเมเปิลที่มีอายุเกือบร้อยปี ซึ่งปลูกโดยในสมัยที่ฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเซี่ยงไฮ้

เทศกาลไหว้พระจันท์

เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลของชาวจีนโดยปกติจะมีวันเพ็ญ เดือน 8 (เดือนกันยายน หรือตุลาคม) เทศกาลนี้จัดขึ้นกลางฤดูใบไม้ร่วงจึงเรียกว่า "จงชิว" (Zhong Qiu) แปลว่า "กลางฤดูใบไม้ร่วง" เพื่อระลึกถึงเทพธิดาแห่งพระจันทร์ ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดขึ้นในวันนี้ อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทศกาลนี้ยังคงไม่เป็นที่ปรากฏแน่ชัด บ้างก็ว่าจักรพรรดิ์วูแห่งราชวงศ์ฮั่นเป็นผู้ริเริ่มการฉลองเพื่อกราบไว้พระจันทร์เป็นเวลา 3 วันในฤดูใบไม้ร่วงนี้ แต่หลายคนก็แย้งว่า ความจริงแล้วเทศกาลนี้เกิดขึ้นในราวปี พ.ศ. 1911 ในช่วงมองโกลยึดครองจีน ขนมเค้กที่ทำขึ้นก็เพื่อซุกซ่อนข้อความลับของพวกกบฎที่มีถึงประชาชนทั่วทั้งประเทศให้มาชุมนุมกันครั้งใหญ่นเดือน 8 นี้ ทหารมองโกลไม่ได้ระแวงถึงจุดประสงค์ของพวกกบฎ เพราะคิดว่าขนมเค้กเหล่านั้นเป็นการทำตามประเพณีดั่งเดิมของชาวจีน ด้วยเหตุนี้ในคืนนั้นเองทหารมองโกลจึงถูกปราบเสียราบคาบหลังจากที่ราชวงศ์ใหม่คือราชวงศ์ หมิงได้ถูกจัดตั้งขึ้นแล้ว ประเพณีนี้ก็ถือปฏิบัติกันมาจนถึงทุกวันนี้